เมืองพัทยาเตรียมสานต่อภารกิจดูแลสุนัขจรจัด หลังมูลนิธิสงวนชาติศรไกร ขอยุติการดูแล เหตุเจอพิษโควิด

ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา ( 31 พฤษภาคม 2564) นายสุรพล สงวนชาติศรไกร ประธานมูลนิธิสงวนชาติศรไกร เดินทางเข้าพบ นายมาโนช หนองใหญ่ รองนายกเมืองพัทยา และนายปราโมทย์ ทับทิม รองปลัดเมืองพัทยา เพื่อร่วมหารือเรื่องของการขอยุติการดูแลสุนัขจรจัดให้กับเมืองพัทยา หลังจากที่ได้รับผลกระทบในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันก็พบว่าสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น

นายสุรพล ชี้แจงว่าตามที่มูลนิสงวนชาติศรไกร จัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างเมืองพัทยา ในเป็นการนผู้ดูแลสุนัขจรจัดให้กับเมืองพัทยา เป็นเวลานานกว่า 10 ปีแล้วนั้น ล่าสุดเนื่องจากภาวะโควิด-19 ซึ่งได้เข้าสู่ประเทศไทยมาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2562 จนถึงปัจจุบัน มีผลกระทบกับทางมูลนิธิ เป็นอย่างมาก เนื่องจากมูลนิธิได้รับเงินสนับสนุนการดำเนินการจากประธานมูลนิธิและเมืองพัทยาบางส่วน แต่เมื่อภาวะโควิด-19 ระบาด ทำให้เกิดผลกระทบค่อนข้างรุนแรง แต่ได้พยายามที่จะรักษาการดูแลสุนัขจรจัดให้กับเมืองพัทยามาโดยตลอด โดยหวังว่ากิจการต่างๆ จะฟื้นตัวได้ในเร็ววันนี้ แต่ปัจจุบันกลับพบว่ายังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ทางมูลนิธิไม่อาจจะรับภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสุนัขได้อีกต่อไป จึงขอยุติการดูแลสุนัขจรจัดตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม นี้เป้นต้นไป

ด้านนายมาโนช หนองใหญ่ รองนากยมเองพัทยา เผยว่า เมืองพัทยาได้รับการประสานเป็นหนังสือจากทางมูลนิธิมาตั้งแต่ วันที่ 3 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา เรื่องของการขอยุติการดูแลสุนัขจรจัดเมืองพัทยา โดยหลังจากทราบเรื่องทางเมืองพัทยาก็ไม่ได้นิ่มนอนใจ ได้หารือเพื่อหาทางในการจัดการดูแลสุนัขจรจัดกว่า 700 ตัวเหล่านี้ต่อไป ที่ผ่านมากกว่า 10 ปี เมืองพัทยาได้สนับสนุนเรื่องของงบประมาณในการจัดซื้ออาหารเลี้ยงสุนัขจรจัดเหล่านี้ให้กับมูลนิธิต่อเดือนเป็นเงินแสนกว่าบาท โดยทางเมืองพัทยาได้ดำเนินการสนับสนุนงบประมาณให้กับมูลนิธิตลอดไม่ได้ขาด แต่พอหลังทราบปัญหาก็เข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นที่มูลนิธิต้องแบกรับภาระมาโดยตลอด หลังวิกฤตโควิด-19 เข้ามากว่า 2 ปี จากนี้ไปทางเมืองพัทยาจะเข้ามาดูแลเอง เนื่องจากสุนัขทั้งหมดที่มูลนิธิดูแลอยู่ส่วนใหญ่เป็นสุนัขจรจัดที่เมืองพัทยาจับมา เป็นสุนัขที่มีปัญหา ก่อเกตุกัดนักท่องเที่ยว หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายแก่ประชาชน จึงจับมาไว้ที่คอกดังกล่าว ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 700 ตัว จากนี้ไปทางเมืองพัทยาคงต้องเข้ามาดูแลเอง และจัดจ้างคนดูแล ดำเนินการบริหารจัดการสถานที่เลี้ยงสุนัขแห่งนี้เอง พร้อมเตรียมประสานไปยังเทศบาลตำบลโป่งในการขอใช้พื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบันสถานที่ดูแลสุนัขจรจัด ของเมืองพัทยา ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลโป่ง หมู่บ้านคลองใหญ่ เมืองพัทยาจึงต้องขอความอนุเคราะห์เทศบาลตำบลโป่งในการขอใช้พื้นที่สาธารณะประโยชน์นี้ต่อไปอีกระยะ

ส่วนในเรื่องการดูแลสุนัขจรจัด ปัจจุบันเมืองพัทยาจะไม่ดำนเนินการจับสุนัขจรจัดทุกตัวไปไว้ที่สถานรับเลี้ยงสุนัขจรจัด แต่จะจับสุนัขจรจัด ทำหมันและให้คนในชุมชนร่วมกันดูแลจนกว่าจะเสียชีวิต ตามโครงการสุนัขชุมชน ที่ในแต่ละเดือนฝ่ายสัตวแพทย์เมืองพัทยา ตั้งเป้าทำหมันสุนัขจรจัดในชุมชนให้ได้อย่างน้อย 300 ตัวต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันดำเนินการเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ ถึงเดือนละ 400 ตัว ทำให้จำนวนสุนัขจรจัดในพื้นที่เมืองพัทยา เริ่มลดลง อย่างไรก็ตาม คงต้องมีการประชุมหารือร่วมกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขอบเขตที่เมืองพัทยาสามารถทำได้อีกครั้งในเร็ววันนี้.