วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
covidchon

โควิด-19 ชลบุรี 31 มี.ค.2565 ป่วย-ตายต่อเนื่องอีก 4 ศพ ยังไม่ฉีดวัคซีน รวมตายสะสมไตรมาสแรกปีนี้ 142 ศพ

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม เวลา 06.30 น.สสจ.ชลบุรี รายงานว่าุวันนี้มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 1,414 ราย (ผู้ติดเชื้อยืนยัน RT-PCR)

1. คนที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง เข้ามารักษาในจังหวัดชลบุรี 77 ราย สะสม 4,627 ราย และจังหวัดอื่นๆรวมสะสม 1,420 ราย

2. CLUSTER บริษัท ไทย เอ็นโอเค จำกัด อ.เมืองชลบุรี 11 ราย สะสม 79 ราย

3. อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 40 ราย

4. บุคลากรทางการแพทย์ 36 ราย

5. ให้ประวัติเดินทางมาจากต่างจังหวัด 4 ราย ดังนี้
5.1 กทม. 1 ราย
5.2 จังหวัดนครราชสีมา 1 ราย
5.3 จังหวัดบุรีรัมย์ 1 ราย
5.4 จังหวัดสตูล 1 ราย

6. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน
6.1 ในครอบครัว 321 ราย
6.2 จากสถานที่ทำงาน 73 ราย
6.3 บุคคลใกล้ชิด 58 ราย
6.4 ร่วมวงสังสรรค์ 4 ราย

7. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 49 ราย

8. อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 741 ราย

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 จังหวัดชลบุรี มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม 939,323 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 8,273 คน (อัตราป่วย 880.74 ต่อแสนประชากร) เสียชีวิต 6 ราย (0.64 ต่อแสนประชากร), ใส่ท่อหายใจ 5 ราย (0.53 ต่อแสนประชากร), ปอดอักเสบ 8 ราย (0.85 ต่อแสนประชากร)

มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม 1,905,852 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 11,610 คน (อัตราป่วย 609.18 ต่อแสนประชากร) เสียชีวิต 25 ราย (1.31 ต่อแสนประชากร), ใส่ท่อหายใจ 19 ราย (1.00 ต่อแสนประชากร), ปอดอักเสบ 28 ราย (1.47 ต่อแสนประชากร)

ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม 138,380 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีนอีก 284,841 คน รวม 423,221 คน ในเดือนนี้พบผู้ติดเชื้อที่ฉีดวัคซีนไม่ครบและยังไม่ได้ฉีดวัคซีน17,125 คน (อัตราป่วย 4,046.35 ต่อแสนประชากร), เสียชีวิต 61 ราย (14.41 ต่อแสนประชากร), ใส่ท่อหายใจ 15 ราย (3.54 ต่อแสนประชากร) , ปอดอักเสบ 60 ราย (14.18 ต่อแสนประชากร)

วันนี้พบผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจรายใหม่ 4 ราย (รายที่หนึ่งพบประวัติการรับวัคซีนสองเข็มเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2564,รายที่สองพบประวัติการรับวัคซีนสองเข็มเมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2564,
และอีกสองรายไม่พบประวัติการรับวัคซีน), ผู้ป่วยปอดอักเสบรายใหม่ 6 ราย (รายที่หนึ่งพบประวัติการรับวัคซีนสองเข็มเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564,รายที่สองพบประวัติการรับวัคซีนสองเข็มเมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2564,รายที่สามพบประวัติการรับวัคซีนสองหนึ่งเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2564,และอีกสามรายไม่พบประวัติการรับวัคซีน), ผู้เสียชีวิตรายใหม่ 4 ราย (รายที่หนึ่งอายุ 49 ปี, รายที่สองอายุ 78 ปี, รายที่สามอายุ 83 ปี, รายที่สี่อายุ 89 ปี) สาเหตุที่นำไปสู่การเสียชีวิตคือ เป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัวได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ (ไม่พบประวัติการรับวัคซีนทั้งสี่ราย)

ดังนั้นการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์กล่าวคือต้องได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดเข็มที่สาม จะช่วยลดความรุนแรงของโควิด-19 ผู้ที่อาศัยในจังหวัดชลบุรี ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือฉีดวัคซีนไม่ครบ มีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 และกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ จะมีอาการมากกว่ากลุ่มอื่น

ขณะนี้มีการระบาดเป็นวงกว้างทั้งจังหวัดชลบุรี ร้านอาหารจำหน่ายสแอลกอฮอล์ ต้องคัดกรองลูกค้าด้วย ATK ทุกคน

ขณะนี้เริ่มมีการระบาดในสถานประกอบการจำนวนมาก พนักงานต้องได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์และเคร่งครัดในมาตรการองค์กร
1. เลิกงานไม่สังสรรค์
2. อาหารต้องไม่ทานใกล้ชิดด้วย
3. ป่วยต้องหยุด
4. จุดสัมผัสร่วม ต้องทำความสะอาดบ่อยๆ เช่น ลูกบิด ราวบันได สแกนนิ้วมือ เซ็นชื่อแล้วต้องล้างมือทันที
5. เคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล ใส่แมสก์ตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ อยู่ห่างๆกัน

สำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ต้องมีการกักตัวอย่างเข้มงวด ไม่ออกไปแพร่เชื้อ

การควบคุมป้องกันการระบาดของโควิด-19 ในจังหวัดชลบุรี อยู่บนพื้นฐานของสมดุลระหว่าง การควบคุมโรค เศรษฐกิจ สังคม

ปัจจัยความเร็วในการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขึ้นกับการเคลื่อนที่นอกบ้านของประชาชน ความใกล้ชิดกัน รวมทั้งระยะเวลาในการใกล้ชิดกัน นอกเหนือจากการไม่เคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล หากไม่ล้างมือก่อนจับหน้า เชื้อเข้าทางจมูก ปากตา ทำให้มีการติดเชื้อและแพร่ระบาดได้

ในสภาวะการณ์ที่โควิด-19 มีการระบาดในวงกว้าง จนอาจกลายเป็นโรคประจำถิ่น เชื้อไม่ได้หมดสิ้นไป ทำให้มีโอกาสในการติดเชื้อได้ แต่ต้องไม่ให้เกิดการระบาดจนระบบสาธารณสุขรองรับไม่ได้ และต้องไม่เสียชีวิต ดังนั้นจึงขอความร่วมมือทุกภาคส่วนปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคของจังหวัดชลบุรี

ค้นให้ตรงเป้า เฝ้าให้ตรงจุด ร่วมใจฉีดวัคซีน สู่โรคประจำถิ่น

1 ค้นให้ตรงเป้า ผู้ที่มีอาการไข้หวัด ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ที่ได้วัคซีนไม่ครบ มีโอกาสเสี่ยงต่อความรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ต้องได้รับการตรวจคัดกรองด้วย ATK

2 เฝ้าให้ตรงจุด สถานที่ที่มีกลุ่มเปราะบาง เสี่ยงต่อความรุนแรงหรือเสี่ยงต่อการควบคุมการระบาดได้ยาก หากเกิดการระบาดขึ้น ต้องได้รับการคัดกรองด้วยATK สม่ำเสมอ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน สถานพักพิงคนพิการ ร้านอาหารจำหน่ายแอลกอฮอล์ ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่เป็นผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว

3 ร่วมใจฉีดวัคซีน วัคซีนลดความรุนแรงของโควิด-19 ได้ 100% แต่ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว ยังคงสามารถติดเชื้อโควิด-19 ได้ ยังคงต้องมีสุขอนามัยส่วนบุคคล ขอความร่วมมือทุกท่านในการฉีดวัคซีน เพื่อลดความเร็วในการระบาด และลดความรุนแรงของโควิด-19 โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว ขณะนี้ยังคงมีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว และเป็นผู้ที่ไม่ฉีดวัคซีน

4 สู่โรคประจำถิ่น เชื้อโควิด-19 ได้ลดความรุนแรงลง และเข้าเป็นโรคประจำถิ่น ในที่สุด ทุกคนป้องกันตัวเองตามมาตรการ univeral protection ยังคงเคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยเฉพาะช่วงที่กำลังมีการระบาดในวงกว้าง เพื่อชลอการระบาดไม่ให้รวดเร็วเกินไป ให้ดำเนินการตามมาตรการ คัดการด้วย ATK ก่อน และสามารถแยกกักที่บ้านได้หากไม่มีอาการและไม่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อความรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่นๆ

การควบคุมป้องกันการระบาดของโควิด-19 เป็นหน้าที่ของทุกคน

#ค้นให้ตรงเป้า เฝ้าให้ตรงจุด ร่วมใจฉีดวัคซีน เข้าสู่โรคประจำถิ่น
#รู้หน้า_ไม่รู้ใจ_ไม่รู้ใครติดโควิดบ้าง